webnovel

Final Club Quantum Jump

พัฒน์ เด็กนักเรียนชั้นมัธยมที่ห้า เด็กเรียนเก่งที่น่าเบื่อไม่ได้รับการยอมรับที่โรงเรียน และโดนดูถูกทำงานพิเศษ แม่เป็นผู้ป่วยไร้สติอยู่ในนิทราตั้งแต่อุบัติเหตุทางรถยนต์ พ่อก็เสียไปในอุบัติเหตุด้วย ทนายที่ดูแลคดีแม่ดูแลการฟ้องในโรงพยาบาล ชีวิตที่หายไปของเด็กนักเรียนธรรมดา วันหนึ่งพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งสมองอยู่ได้อีกสองปี กลับไปเจอ "เบน" เพื่อนวัยเด็กในกลุ่มเด็กอัจฉริยะ “คิปป์ทีม” เอารายชื่อผู้ป่วยโรงพยาบาล ขายอวัยวะบริจาคให้ พัฒน์พบว่าตัวเองสามารถผลิตอวัยวะจากเครื่องปริ้นสามมิติ ต้องทำงานร่วมกับเบนเพื่อหาเงินจ่ายค่ารักษาแม่และตัวเอง

jamewcollin · Ficção Científica
Classificações insuficientes
19 Chs

บทที่ 1

หกเดือนก่อนหน้า

ชายชุดนักเรียนยืนอยู่นอกรั้วบ้านของตัวเอง บริเวณทางเท้าข้างหน้า แขนทั้งสองข้างของเขาถือกล่องกระดาษลัง ข้างในปริมาตรพื้นที่สีน้ำตาลมีอัลบั้มฟิล์ม กล้องวิดีโอ กล้องฟิล์ม ถ้วยรางวัลชีวโอลิมปิกนานาชาติจากเยอรมัน ม้วนเทปคาสเซ็ทเพลงเก่าที่เคยอยู่ในบ้าน ของขวัญวันเกิดตอนเด็ก กับ แจกันสีเทาที่พ่อซื้อให้แม่ เขาใช้ปลายนิ้วดันกล่องเทปคาสเซ็ทเทปเพลงให้เรียงระนาบเท่ากัน พัฒน์เงยหน้าดูพนักงานธนาคารที่มายึดบ้าน กับคนขับรถ ทั้งสองกำลังยกโซฟารูปตัวแอลอย่างทุลักทุเล ขึ้นไปบนรถขนบรรทุก นั้นเป็นของชิ้นสุดท้าย ที่พอจะขายในตลาดผ่านธนาคารได้ ทั้งสองคนวางมันลงประกบกับโต๊ะทำงาน มันแค่เอียงจากระนาบนิดหน่อย ในการขนของจากบ้านทั้งหมดเหมือนเกมเตตริส (Tertis) ถ้าทุกอย่างบนรถแล้วมันเข้ากันได้ ทุกอย่างจะหายไป พัฒน์ค่อย ๆ วางกล่องลงกับพื้นริมทาง ยกตัวขึ้นไปด้านหลังรถบรรทุกช่วยจัดกับนพรุธกับคนขับ เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์แล้ว เป็นระบบมันกำลังจะหายไป พวกเขาทั้งสามลงจากด้านหลังรถ คนขับรถปิดประตูรถด้านหลัง ปึง! ปึง! ประตูรถปิดลงทีละด้าน

นพรุธ พนักงานธนาคาร ยื่นเอกสารหนีบบนคลิปบอร์ด พัฒน์ต้องเซ็นลงชื่อมอบอำนาจให้บ้านเป็นทรัพย์สินคืนกลับเป็นของธนาคาร พัฒน์เซ็นชื่อลงบนกระดาษซ้อนบนคลิปบอร์ด หลังจากเขียนเสร็จก็ส่งคืนให้เขา พัฒน์มองดูนพรุธหยิบป้ายบอร์ดพลาสติก "ขายบ้านหลังนี้ ติดต่อ 08x-xxx-xxx" ป้ายนั้นถูกผูกกับรั้ว พัฒน์เอียงคออ่านนิดหน่อยตามความเอียงของป้าย นพรุธกับคนขับขึ้นไปนั่งด้านหน้ารถด้วยกัน การจากลาระหว่างคนของพัฒน์ กับพัฒน์และสิ่งของจากบ้านจบลง ล้อยางกำลังหมุนออกห่าง รถแล่นออกไปเรื่อย ๆ ระยะห่างระหว่างพัฒน์กับสิ่งของครอบครัวกำลังมากขึ้นจนลับสายตาพัฒน์ มีแค่ของในลังกระดาษที่ยังเป็นหลักฐานการมีอยู่ของตัวเขา

กลางเดือนมิถุนายน หลังจากเปิดเทอมได้สองสัปดาห์ที่พัฒน์ผ่านขึ้นมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ห้า เขาเดินเข้ามาโรงเรียน มาถึงอาคารเรียน เดินขึ้นบันไดเดินขึ้นมาถึงชั้นเรียนตัวเอง มาที่หน้าห้องเรียน เดินเอากล่องไปไว้ข้างโต๊ะของพัฒน์ เขานั่งที่ริมหน้าต่าง จะมีช่องว่างระหว่างโต๊ะกับผนังมากกว่าคนอื่น พัฒน์ชอบดูท้องฟ้าด้านนอกระเบียง แม่ให้พัฒน์มาเรียน ที่โรงเรียนนี้อยู่เพราะอยู่ใกล้ทะเล ในเวลาเรียนนอกจากการจ้องมองสีฟ้าที่ว่างเปล่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุดในโรงเรียน ที่เหลือหลังจากนี้เป็นความน่าเบื่อสำหรับพัฒน์

พัฒน์เรียกโรงเรียนว่า "วัฒนธรรมกระดาษ"

เพราะตอนเช้าพวกเราจะต้องส่ง งานการบ้านที่รับไปเมื่อวาน ส่วนตอนเย็นวันนี้ จะได้รับกระดาษแผ่นใหม่ ที่ต้องส่งอีกทีวันพรุ่งนี้ อีกเหตุผลที่น่าเบื่ออีกข้อหนึ่ง คือ ชั่วโมงการเรียนทั้งมีปริมาณมากแต่ความรู้ไม่สามารถนำมาใช้ต่อความต้องการส่วนบุคคลได้ การสอบทำให้ พวกเราแทบไม่จำเป็นต้องเรียนในโรงเรียน เนื้อหาบางวิชาสามารถหาอ่านย่อจากโรงเรียนสอนพิเศษหรืออินเทอร์เน็ต

อีกอย่างระบบการศึกษามีปัญหาในการวัดผล การกดดันทางความรู้ ตัวระบบแข่งขันสูงทำให้ลดความมั่นใจ ความคาดหวังต่อสังคมที่จะเป็นได้ ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นลูกศร "ความหวัง" จากครอบครัว ครู สังคม ญาติ ทะลุผ่านไปมาในตัวผม จนทำให้ข้างในตัวตนมันกลวงและว่างเปล่า อีกทั้งอาชีพในประเทศนี้ไม่ได้เปิดกว้าง แพทย์ ครู ตำรวจ ที่เหลือ ก็เป็นได้แต่ไม่มีสหภาพแรงงานคุ้มครองรายได้ขั้นต่ำ ไม่มีสวัสดิการ การประกันสังคม หรือสิทธิ์การรักษาที่ดีพอจะมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

อันที่จริงพัฒน์รู้ตัวว่าตัวเองไม่เหมาะกับประเทศที่ล้าหลัง คนที่ยังไม่อิ่มท้อง ความสร้างสรรค์ทางวิชาการก็เติบโตยากอาชีพนักคิด นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก นักสร้างสรรค์ ถูกกดค่าแรงจากระบบรัฐและเอกชน พวกเราต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบต่างประเทศ ทั้ง เอสเอที (SAT) โทอิค (TOEIC) และ ไอเอล (IELTS) ตั้งแต่ มัธยมต้น พัฒน์มีไอคิวร้อยยี่สิบสองมันไม่ได้บอกว่าเขาเป็นคนฉลาด มันเป็นแค่ใบผ่านทางที่จะทำให้เขาได้อยู่ในห้องเด็กความสามารถสูง (gifted) อย่างน้อยห้องนี้ ก็ไม่ได้คุยเรื่องกินข้าวอะไรมา หรือ ดูหนังเรื่องล่าสุดสนุกมั้ย นักเรียนในห้องนี้ บางคนเป็นประธานชมรมเตรียมแพทย์ ชมรมชีวะ ชมรมหุ่นยนต์

คนที่นั่งข้าง ๆ พัฒน์ชื่อพลอย เธอเป็นประธานชมรมเตรียมแพทย์ กับเจนที่เป็นหัวหน้าชมรมวิชาการ อย่างน้อยเขาก็มีคนที่สามารถคุยเรื่องระบบการศึกษากันได้

อาจารย์ประจำวิชากำลังเช็คชื่อ "พะพาย"

"มาครับ"

"พลอย"

"มาค่ะ"

"พัฒน์"

พัฒน์นิ่งไปครู่หนึ่งระหว่าง เขามองท้องฟ้าข้างนอก อาจารย์เรียกซ้ำ "พัฒน์"

"มาครับ" พัฒน์ขานรับ

ในระหว่างที่อาจารย์กำลังเช็คชื่ออยู่ พลอยชวนเขาคุย

เธอถาม "กล่องที่อยู่ใต้โต๊ะคืออะไรเหรอ"

"ของจากที่บ้าน" พัฒน์กระซิบตอบเธอ

"จริงเหรอ ๆ ขอดูได้มั้ย" พลอยซักถามเพิ่ม

พัฒน์ส่ายหน้าช้า ๆ ไปมา กล่าวคำเสียงเบา "เดี๋ยวอาจารย์ว่า เรียนแล้ว"

เจนที่นั่งด้านหน้า หันมาเตือนพัฒน์ "บอกทำความเคารพได้แล้ว"

อาจารย์ชนกกำลังมองมาทางพัฒน์อยู่

"นักเรียนทั้งหมด พนมมือ กราบ" พัฒน์พูดนำ

"สวัสดีครับ/ค่ะ อาจารย์" นักเรียนทั้งหมดในห้องพูดตาม การทักทายเป็นพิธีของโรงเรียนที่มีทุกคาบ แสดงถึงผู้ใหญ่ต้องการความเคารพจากนักเรียนในห้อง

"วันนี้เรียนเรื่องการโครโมโซม และการเกิดอวัยวะ ไซโกทเป็นที่มาของชีวิต โครโมโซมทำให้ร่างกายและอวัยวะภายในเราไม่เหมือนใคร ความจริงอีกอย่างคือ เราทุกคนไม่ได้แตกต่างกันแค่หน้าตาอย่างเดียว หรือต่อให้คุณเป็นฝาแฝด คำที่บอกว่า 'เหมือน' จะเป็นคำว่า 'คล้าย' แทน เพราะแม้แต่อวัยวะภายในทุกคนก็ต่างกัน มีอะไรอีกที่ทุกคนต่างกัน"

นวพลที่นั่งหน้าห้องยกมือตอบ "หมู่เลือด"

"ใช่ นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซม" ชนกชี้แจง "งั้นถ้าวันหนึ่งอวัยวะเราหายไป เราจะสามารถเปลี่ยนกับคนอื่นได้มั้ย"

พลอยยกมือพร้อมคำตอบ "ยากค่ะ เพราะมีหลายปัจจัย"

"ถูกต้อง" ชนกอธิบาย "ทั้งปัจจัยของผู้บริจาคและเงื่อนไขต่าง ๆ เทคโนโลยีการทำโมเดลจำลองเลยเข้ามาแก้ไขเรื่องนั้น ทั้งการพิมพ์ กระจกตา ใบหู หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ และ ในวงการสินค้าความงาม ใช้การพิมพ์ผิวหนังมนุษย์เพื่อ จำลองแทนการใช้ผิวหนังสัตว์ ในการทดลองใช้สินค้า"

ในความคิดของพัฒน์เรื่องพวกนี้ดูไกลตัวสำหรับเขา เขามีเป้าหมายที่จะเรียนต่อสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

ต่อให้ที่ที่พัฒน์เรียนอยู่เป็นห้องเด็กความสามารถสูง (Gifted) ในโรงเรียนรัฐ พัฒน์ยังไม่สามารถคุยเรื่องกระสวยโดรน ของเทสล่า (tesla) การกระจายค่าของอนุพันธ์ หรือแรงโน้มถ่วงในหลุมดำได้ เพราะเมืองที่เขาอยู่ไม่มีพื้นที่สาธารณะเพื่อให้เข้าถึงความรู้ที่หลากหลาย ส่วนความหลากหลายในประกอบอาชีพ และการตั้งคำถามยังไม่ถูกพูดถึงในระบบแบบนี้ ทุกพักเที่ยง บ่อยครั้งจะพาตัวเองไปอยู่ดาดฟ้า หรือห้องสมุดเป็นศูนย์รวมตัวอักษร แล้วไปทานข้าวกลางวันที่โรงอาหารโรงเรียนหลังจากทุกคนรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ การคุยเรื่องเดิม ๆ บนโต๊ะรับประทานอาหารในโรงเรียนมันเป็นเรื่องน่าเบื่อ วิดีโอเกม สื่อลามก กีฬาฟุตบอล การ์ตูน ความรับผิดชอบ หน้าที่ ตัวตน เป็นเรื่องที่พัฒน์ไม่เคยได้คำตอบจากโรงเรียน

ความใส่ใจในตัวเด็กของครูผู้สอนจะมากในวัยเด็กแล้วก็ลดไปเรื่อยตอนนักเรียนโตขึ้น อาจารย์ก็ไม่ได้ใส่ใจตัวนักเรียน พัฒน์ได้รับจดหมายเรียนเชิญผู้ปกครอง ทั้ง ๆ ที่พัฒน์ไม่มีผู้ปกครอง อาจารย์ก็ยังคงให้จดหมายอยู่ ยื่นให้ด้วยรอยยิ้มราวกับว่าแม่หรือพ่อพัฒน์จะตอบได้ทันที อาจารย์หน้าห้องก็แค่แจกกระดาษ ทดสอบ และ วัดผล นักเรียนแบบพัฒน์เองพวกเขาไม่รู้สึกถึงตัวเองในการศึกษาเลย หมดหน้าที่นักเรียนของทุกวันตอนสี่โมงครึ่ง

พัฒน์ต้องไปทำงานพิเศษที่ร้านไก่ทอด ชานเมืองภูเก็ต

วีรพงษ์ เป็นน้าชายญาติฝั่งแม่ และเป็นผู้จัดการร้านอาหารฟาสฟู้ด วัย 42 ปี ตัวใหญ่ แต่งงานแล้ว เขาไม่มีลูก มีหน้าที่ดูแลมาตรฐานการทำงานของพนักงานทั้งหมด ด้วยความกดดันในหน้าที่ผู้จัดการ คอยดูแลสายสัมพันธ์คนในองค์กร เขามักจะให้พัฒน์ทำบัญชีแทนช่วงใกล้เวลาเลิกงาน วีรพงษ์จะรีบไปคาราโอเกะก่อนกลับบ้านก่อนจะกลับไปหาภรรยาที่บ้านของเขา

แม่พัฒน์เคยฝากพัฒน์ไว้กับน้าก่อนอุบัติเหตุเกิดขึ้น วีรพงษ์เลยเข้ามาช่วยด้วยความเกรงใจ พอมาถึงจุดหนึ่ง ทุกสายสัมพันธ์ที่เข้ามาช่วยเหลือก็จะเบื่อและไม่อยากคุย น้าเขาไม่ชอบที่พัฒน์ได้การศึกษาและเรียนเก่ง พัฒน์สมัครมาทำงานในครัว เขาไม่ได้ชอบทำงานพิเศษ แต่มันก็ได้เงินพอที่จะจ่ายค่าที่พักกับค่ากินอยู่บางส่วนได้ โดยไม่ต้องติดต่อกับญาติไกล ๆ หรือน้าวีรพงษ์ เพื่อขอเงิน และก็เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบตัวเองเงินที่อยู่ในบัญชีมีแค่เงินประกันอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เมื่อสองปีที่แล้ว

วันศุกร์เย็น ทั้งลูกค้าหน้าร้านที่มายืนรอหน้าเคาน์เตอร์ และสั่งผ่านการโทรเข้ามาสั่งมากขึ้น พัฒน์กำลังนั่งเคลียร์บัญชีของเมื่อวาน ในห้องครัวร้านอาหาร วีรพงษ์กำลังยุ่งอยู่กับเมนูอาหารที่ถูกสั่งเข้ามาตรงหน้าสายตาที่ตรวจดูเมนูใบเสร็จอาหารเปลี่ยนกลับมาจับจ้องที่คนที่นั่งอยู่ในครัว สายตาคู่นั้นมองมาทางพัฒน์ วีรพงษ์ใช้ไหล่หนีบโทรศัพท์ และมีท่าทีเป็นกังวล ท่าทางอารมณ์หงุดหงิด ก่อนจะวางสายแล้วเดินตรงมาหาพัฒน์ เขายืนภายหน้าพัฒน์

เขาจ้องหน้าพัฒน์พร้อมออกคำสั่ง "ไปถูพื้นแทนพี่ขวัญหน่อย แกพึ่งลาออก"

พัฒน์ไม่พอใจกับคำสั่งแต่ก็ไม่อยากเถียงกับผู้ใหญ่ "เราเคยคุยกันแล้วไม่ใช่เหรอ" แค่ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ก็น่าเบื่อมากพอแล้ว "ผมสมัครมาทำงานครัว บิลเมื่อวานผมยังทำไม่เสร็จเลยนะ" พัฒน์พยายามอธิบาย

"ไม่เป็นไร ไว้ค่อยมาทำต่อ"

"ผมบอกว่าแล้ว ว่าผมสมัครมาทำงานครัว ที่พี่ให้ผมทำบัญชีให้ก็เกินหน้าที่" พัฒน์ตอบกลับ

"จะให้พี่ทำไง!!" วีรพงษ์ตะคอก "ก็คนมันขาด น้องก็เห็นอยู่ คิดว่าพี่เป็นพระเจ้า แล้วเสกคนมาได้เหรอ!" ตะโกนเสียงดัง บรรยากาศความกดดันคลุมทั้งร้าน ลูกค้า พนักงานร้าน

ท้ายที่สุด พัฒน์หยิบไม้ถูพื้น ถังน้ำเดินออกมา ถูพื้นตามจุดต่าง ๆ ในร้าน เสียงมือถือรุ่นใหม่สภาพดีกล้องหลังคมชัด "แชะ!" ถ่ายรูปพัฒน์ตอนกำลังถูพื้นอยู่

ศิวัฒน์เป็นนักเรียนรุ่นน้องโรงเรียนเดียวกัน มาเดทกับนิชาแฟนสาว "นั้นพัฒน์ใช่มั้ย?" ศิวัฒน์ทักทายพร้อมยิ้มชอบใจ ขณะมองดูพัฒน์ในชุดนักเรียนถูพื้น

เขายังคงก้มหน้าถูพื้นต่อ พัฒน์อึดอัดใจอย่างเห็นได้ชัด

"เฮ้ย! นั้นพัฒน์จริง ๆ ด้วย โคตรเจ๋งเลยเธอ" นิชาพูด "ขอถ่ายไปลงเรื่องราวน่าตื่นเต้นของวันนี้หน่อยนะ"

พัฒน์อัดอั้นใจ ไม่พอใจ แต่ยังถูพื้นต่อ ไม่มีแม้แต่คำบ่นจากปากของเขา "ตรึ๊ง!!" เสียงแจ้งเตือนข้อความจากโทรศัพท์ในกระเป๋ากางเกงเขาดังขึ้น พัฒน์หยิบมือถือนั้นขึ้นมาดู ข้อความนั้นเป็นรูปภาพพัฒน์กำลังถูพื้นอยู่ถูกส่งเข้าไปในบทสนทนาออนไลน์ในกลุ่มสนทนาของห้องเรียน เขาจ้องมองภาพที่ตัวเองถูกถ่าย พร้อมข้อความวิจารณ์ถึงตัวเอง พร้อมด้วยเสียงหัวเราะชอบใจของทั้งศิวัฒน์และนิชา

เขาไม่ได้เกลียดการถูพื้น ในหัวพัฒน์ไม่พอใจในการไม่ได้รับเกียรติ เขาอยากออกจากตรงนี้ อยากหายไปในทันที

สามชั่วโมงถัดมา พัฒน์ตอกบัตรออกจากงาน เรียกรถยนต์รับจ้าง พาตัวเขาตรงดิ่งไปรับเค้กวันเกิดที่ร้านขนมใกล้ทะเล จากนั้นมุ่งหน้าสู่โรงพยาบาลจังหวัด พัฒน์ใช้เวลาที่เหลือกับแม่ที่โรงพยาบาล "เจ้าหญิงนิทรา" "ผู้ป่วยไม่ได้สติ" คำเรียกอาการหลับชั่วคราวของแม่ ก่อนหน้านั้นหนึ่งปี แม่ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ วันนั้นพ่อโดยสารไปด้วย คนขับรถบรรทุกหลับในตอนเลี้ยวโค้ง ในขณะที่รถอีกคันกำลังเลี้ยวออกมาจากถนนอีกฝั่ง รถเก๋งของพ่อแม่อยู่ตรงกลางเลนถนนประสานงาโดยมีรถของพวกเขาทั้งคู่อยู่ตรงกลาง พ่อเสียชีวิตทันที วันนั้นเป็นวันเกิดพัฒน์และเขาก็ไม่ได้คุยกับแม่อีกเลย

พัฒน์ยังคงเก็บความรู้สึกผิด ก้อนความผิดหวังในตัวเองเป็นเหมือนก้อนหินที่ใส่กระเป๋าความคิดตัวเองหนักขึ้นและหนักขึ้น การโทษตัวเองอยู่ทุกวันทำให้การคงอยู่ของตัวเองท่วมท้นต่อความเศร้ามากขึ้น การมาเจอแม่ที่โรงพยาบาลทุกวันของเขาเป็นทั้งดูแลสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและอีกความหมายหนึ่งคือการไถ่บาปของตัวเอง รอวันที่จะได้คุยกับแม่อีกครั้ง ในมือทั้งสองของพัฒน์เป็นกล่องเค้กเนยนมสองปอนด์ หน้าเค้กมีเลข "42" สีชมพู เขาหยิบมันออกมาจากนั้นปักเทียนลงบนหน้าเค้ก จุดเทียน แสงไฟบนเทียนปรากฏ ปากขยับร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ดเดย์เพียงคนเดียว จากนั้นเป่าเทียนแสงเทียนดับลงควันอื้อนเอ่ยท่าทางขยับตัวในอากาศ บนเก้าอี้ในห้องผู้ป่วยนั้นมีแค่พัฒน์เคลื่อนไหว ทั้งความเงียบในโรงพยาบาลกับพื้นหลังกระเบื้องสีเขียว กับแสงไฟสีขาว พวกเขาทั้งสองนั่งดูซีดีแผ่นต่าง ๆ เกี่ยวกับครอบครัวและตัวพัฒน์เอง ราวกับถ้าไม่มีเรื่องราวที่บันทึกเก็บไว้ พัฒน์คงไม่มีตัวตนให้ถักทอที่ไหนอีก ของขวัญวันเกิดของเขาเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว พ่อกับแม่เตรียมไว้ให้วันเกิดพัฒน์ เป็นซองกระดาษใส่แผ่นซีดีหนึ่งแผ่น ห่อด้วยริบบิ้นผูกรอบซองกระดาษ เขียนว่า "ก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่" พัฒน์จะรอเปิดพร้อมกับแม่ ตอนที่แม่ตื่นขึ้นมา

โน๊ตนิดหนึ่ง

ตอนเด็กพัฒน์เคยเรียกซีดีว่า ก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ (quantum jump) เป็นคำมาจาก เอ็ดวิน แลนด์ ที่นิยามเหตุการณ์ การสแกนฟิล์ม เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้การได้ผ่านการสนับสนุนของรัฐ และสามารถใช้การได้ โดยสามารถลงบันทึกรูปภาพจำนวนมากลงซีดีได้ และเรียกรูปถ่ายฟิล์ม ว่า ความจำทางเคมี (chemical memory) เพราะเวลาอนุภาคแสงที่เรียกว่า โฟตอน (photon) กระทบฟิล์มทำให้เกิดร่องรอยขนาดจิ๋ว คือความจำเคมี เมื่อนำฟิล์มตุ่มลงน้ำยาฟิล์ม ร่องรอยพวกนี้จะชัดเจนขึ้นเป็นพัน ๆ ล้านเท่า เพื่อได้ฟิล์มเนกาทีฟ แล้วไปสู่การได้ภาพการแปลงสีฟิล์ม ที่เกี่ยวกับทฤษฎีการมองภาพสี เรียกว่าทฤษฎีความคงที่ของสี (color constancy) ที่ช่วยอธิบายเรื่องทำไมแอปเปิลจึงเป็นสีแดง แต่แม่ยังคงให้พัฒน์เรียกว่าซีดี หลังจากนั้นเขาก็เรียกว่าซีดี

พัฒน์เริ่มหยิบของในกล่องที่นำมาจากบ้านวันนี้ นำของแต่ละชิ้นมาจัดวางในห้อง ขณะที่หน้าจอไฟสีฟ้าเล่นวิดีโอเขาวันเกิดอายุเจ็ดขวบอยู่ปลายเตียง ในมือของพัฒน์ตั้งรูปครอบครัวบนโต๊ะข้างเตียงให้อยู่ใล้แม่ที่สุด อัลบั้มรูป ฟิล์มเนกาทีฟ เทปคาสเซ็ทเพลง ซีดีก็ถูกนำไปวางในลิ้นชักหัวเตียงนั้นด้วย แจกันก็เอาไปใส่ดอกไม้ที่อยู่ในห้อง

"ก๊อก ๆ" เสียงเคาะประตูห้อง หมายเลขที่ 633

จากนั้นชายมีอายุหัวล้านเปิดประตูเข้ามา ชายคนนั้นใส่สูทสีเทาถือกระเป๋าเอกสาร เนกไทลายปักสีแดง มืออีกข้างถือกาแฟ มีท่าทีจะมิตรแนะนำตัวเองว่าชื่อชัยพลเป็นทนายของแม่พัฒน์ มาทักทาย "ผมมาดูว่า ดอกไม้ ส่งมาให้มาถึงมั้ย" ชี้นิ้วไปที่ดอกไม้ในแจกัน พัฒน์หันหน้ามองและรับรู้ถึงการมีอยู่ของดอกไม้นั้น

"ขอบคุณครับ" พัฒน์พยักหน้าพร้อมกับลุกขึ้นตัดเค้กแบ่งใส่จานให้เขา แล้วยื่นให้

ชัยพลรับจาน กล่าว "ขอบคุณมากพัฒน์" กินอยู่เพียงแค่สองสามคำ จากนั้นเขาหยิบนามบัตรจากกระเป๋าเสื้อยื่นให้พัฒน์ "นี่นามบัตรน้านะ" พัฒน์รับนามบัตรของเขา ก่อนจะเก็บกระเป๋าเสื้อ "เป็นไงบ้างพัฒน์ เรียนจบหรือยัง" เขาถาม

สายตาพัฒน์ยังมองหน้าจอโทรทัศน์และตอบคำถาม "ยังครับ"

"เงินประกันได้ครบแล้วใช่มั้ย?" เขาหันหน้ามองพัฒน์กับคำถาม

พัฒน์พยักหน้า เขายังคงสนใจเรื่องราววัยเด็กกับพ่อแม่ที่ยังมีชีวิตในวิดีโอบนหน้าจอทีวี เขานึกในใจว่าทำไมคำถามทั่วไปพวกนี้ บางทีคำตอบก็มาจากสภาพการแต่งตัว หรือทรงผมอยู่แล้ว น่าจะชวนคุยเรื่องที่มันคริเช่ อย่างตัวตนหรือความหมายในชีวิตเวลาเจอหน้ากัน พัฒน์เงียบไประยะเวลาหนึ่งก่อนจะตอบ "ได้แล้วครับ อยู่มัธยมที่ห้า กำลังดูมหาลัยอยู่ครับ"

"หืม ดีนี่พัฒน์ เรียนเก่งอยู่แล้ว น้าขับรถผ่านโรงเรียน เห็นรูปพัฒน์รอบรั้วบ่อย ๆ แล้วอยากเข้าที่ไหนหล่ะ คงมีทุนดีๆให้อยู่แล้ว" ชัยพลเข้ามาตบไหล่ ท่าทางภูมิใจกับเขาไปด้วย

พัฒน์ยิ้มแห้ง ๆ ที่มุมปากกลับไป

พัฒน์เบื่อเรื่องรูปภาพการสรรเสริญตัวบุคคลและผลการเรียนมาก แถมยังมักจะเลือกรูปติดบัตรหน้าตรงไปเป็นรูปที่ใช้บนป้าย การมีรูปตัวเองใหญ่ ๆ ให้คนอื่นเห็นมาก ๆ มันสวนทางกับการยอมรับในตัวเองเสมอ

"คงกรุงเทพ ฯ แหละครับ ตอนนี้ก็ทำงานพิเศษไปด้วย" เขาตอบ

หนึ่งท่าทางพยายามจะพูดเรื่องตัวเอง "น้าว่าความให้โรงพยาบาลที่นี่ ถ้าพัฒน์มาช่วยอีกแรงน่าจะดีนะ" ทนายเสนอ

สายตาคู่นั้นยังอยู่ทางหน้าจอโทรทัศน์ พัฒน์เข้าใจที่ทนายชวนทำงาน จากนั้นชัยพลก้มมองนาฬิกาข้อมือ สายตาสาดส่องหารีโมท เขาหยิบ และกดเปลี่ยนช่องทันที "แย่ล่ะ ขอน้าดูข่าวช่องสามหน่อย" เขาบอกหลังจากกดเปลี่ยนช่องไปแล้ว

พัฒน์รู้สึกไม่ชอบใจกับการกระทำแบบนี้ แต่ไม่อยากบ่นอะไร สำหรับเขา นึกในใจว่าเรื่องช่องว่างทางวัย (generation gap) คงทำให้ผู้ใหญ่แบบนี้ไม่รู้จักมารยาท คงคิดว่าตัวเองเป็นใหญ่เป็นการแสดงความสนิท หรือละลายพฤติกรรม เพราะรู้ว่าคนที่อายุน้อยกว่าจะไม่หักหน้าคนอายุมากกว่า ถ้าเขาเตือนก็จะบอกว่าพ่อแม่ไม่สั่งสอน "ใช่ดิ ดูแม่ผมดิ" พัฒน์ได้แค่คิดแต่ไม่ได้พูดออกไป

ช่องโทรทัศน์ท้องถิ่น มีข่าวพูดถึงการจับกุมกลุ่มค้าอวัยวะ ขณะกำลังสัมภาษณ์ตำรวจอธิบายเรื่องวิธีการ และเครือข่ายการทำงาน ของพนักงานประกันที่ทำเอกสารในโรงพยาบาลขนาดเล็ก

"ฮ่าฮ่าฮ่า อ้วนชะมัด นั้นคนรู้จักน้า" ทนายหัวเราะเสริมกับชี้คนในจอโทรทัศน์ "ทำงานข้าราชการก็ดีนะ" เขาดูมีท่าทางภูมิใจกับการรู้จักคนทำงานข้าราชการ ก็เป็นปกติของที่กระจายอำนาจข้าราชการ เพื่อให้ทำงานช้าลง พัฒน์ไม่เคยอยากทำงานข้าราชการเลย ถึงแม้แม่เขาจะเคยทำก็ตาม สุดท้ายแม่ออกมาเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์

สายเข้าจากโทรศัพท์ของทนาย ระหว่างที่ข่าวในทีวี พูดถึงการจับกุมและผู้ต้องหาสามคน "ตรู๊ด ๆ ตรู๊ด ๆ" เขาพึมพำขณะล้วงโทรศัพท์ออกมา "แกออกทีวีแล้วอ้วนขึ้นเป็น สิบโลเลย" เขาหยอกล้อกับปลายสาย ตามมาด้วย เสียงขำของทั้งฝั่ง พัฒน์ดูข่าวอยู่ ทนายหันมามองทางพัฒน์ แสดงความเกรงใจจากเสียงหัวเราะนิดหน่อย พยายามเอามือป้องปากตัวเอง พูดเบาลง และกดวางไป "ขอโทษทีนะ"

ภาพหลักฐาน เป็นแบงก์พันม้วนถูกมัดด้วยหนังยางเต็มลังเจ็ดถึงแปดลังได้ เครือข่ายเงินหมุนของกลุ่มค้าอวัยวะรายใหญ่ได้ พัฒน์สนใจข่าวในโทรทัศน์อยู่หันหน้าถามทนาย "น้าครับ เงินของกลางประมาณเท่าไหร่เหรอครับ"

"ล่าสุดประมาณ 20 ล้านบาทได้ หมอนั้นโม้ใหญ่เลยหล่ะ บอกว่าไม่เคยเจอเงินเยอะเท่านี้มาก่อน"

"แต่เงินพวกนี้มันผิดกฎหมาย ใช่มั้ยครับ"

"ใช่ น้าเคยเห็นข่าวที่เยอะกว่านี้นะ มันหาง่ายนะ เดี๋ยวคงมีอีกแหละ" ทนายตอบ ก้มมองดูนาฬิกาข้อมือ ถอนหายใจอีกครั้ง เขาหนักใจกับเอกสารที่ต้องทำ "จะได้ฝึกงานไปด้วย หาอะไรทำจะได้ไม่น่าเบื่อ" เขาเอ่ยชวนพัฒน์อีกครั้ง

"ไว้ถ้ามีโอกาสนะครับ" พัฒน์ตอบ กับยกมือไหว้ ทนายออกจากห้องไป บรรยากาศห้องกลับมาเป็นเหมือนเดิม

จากนั้นพัฒน์ถึงห้องพักของตัวเองเกือบเที่ยงคืน เขาวางกล่องเค้กไว้บนโต๊ะ ด้วยความเพลียเขาฟุบหลับบนเตียง "น่าเบื่อคับแคบ อึดอัด ทุกวันผมยังคงเป็นเหมือนเดิม" คือสิ่งที่เขานึกในใจ

เย็นวันถัดมา โรงพยาบาล

วันนี้ร่างกายเพลียตั้งแต่เช้า รู้สึกคลื่นไส้ ปวดหัว อยากอ้วก พัฒน์วิ่งไปห้องน้ำก่อนมาติดต่อเคาน์เตอร์พยาบาลยื่นทิชชูให้พัฒน์ พยาบาลหญิงสื่อสารทำท่าบอกว่ามีอะไรติดใต้จมูกพัฒน์ นิ้วมือเขาแตะบริเวณใต้จมูก เห็นเลือดกำเดาอยู่ปลายนิ้วมือ ภาพรอบตัวเขาเหมือนโดนเขย่า สั่นและซ้อนทับกัน ภาพทั้งหมดเบลอ พัฒน์สลบตรงหน้าเคาน์เตอร์

แสงจากหลอดไฟบนเพดาน ร่างกายเขาอยู่บนเตียงถูกเข็นไปที่ห้องตรวจ ภาพในวัยเด็กของผมซ้อนทับกับความจริงไปมา การใช้เวลาที่โรงเรียน สายสัมพันธ์ ความทรงจำที่เกิดขึ้นผ่านไปภายในชั่วพริบตา ราวกับว่าทุกอย่างเกิดขึ้นอีกรอบ พัฒน์ต้องนอนเฉยๆ ในเครื่องอุโมงค์เอ็มอาร์ไอ (MRI) การตรวจจับการเคลื่อนของโปรตอนในน้ำที่อยู่ในร่างกาย การเคลื่อนที่ของน้ำที่ได้ออกมาเป็นภาพเป็นข้อมูลในการวินิจฉัย เวลาอยู่ในอุโมงค์นั้นเหมือนจะช้าลงกว่าที่คิด

สามสิบนาทีถัดมา พัฒน์นั่งเก้าอี้แถวยาวในแผนกอายุรกรรมของโรงพยาบาล หมอชนันเรียกคิวถัดไป ขานชื่อพัฒน์ เขาลุกจากเก้าอี้ มือขวาเปิดประตูในชุดผู้ป่วย "พัฒน์ ณ อยุธยา เชิญด้านใน"

พัฒน์เข้ามานั่งเก้าอี้ตรงข้ามบุรุษชุดขาวในห้องวินิจฉัย "ผลตรวจออกมาแล้ว" ชนันกล่าว เริ่มอธิบายอาการกับโรคของพัฒน์

สำหรับพัฒน์ เขาได้ยินแค่คำต้น ๆ เหงื่อออก ร้อนไปทั้งตัวทั้ง ๆ เสียงวิ้งดังในหู พัฒน์มองปากหมอขยับไปมา กับหนังสือบนชั้นวางด้านหลังไม่ได้ไล่ตามความสูงของสันปก ปากกาหมึกซึมที่กระเป๋าเสื้อหมอมันเลอะ กำลังกระจายเป็นดวงใหญ่ หมออธิบายเสร็จ เขาเรียกซ้ำ เพื่อดึงสติจากสายตาเหม่อลอยของพัฒน์ "น้องพัฒน์ครับ ๆ"

"ครับ" เขาเอ่ยเสียง เรียกสติตัวเองกลับมา

"เข้าใจที่หมออธิบายใช่มั้ยครับ" เขาถามอีกครั้ง

"ครับ"

"เนื้องอกในสมอง ระยะแรก สามารถกลายเป็นมะเร็งได้ ต้องผ่าตัดและทำเคมีบำบัด เพื่อพยุงอาการ" พัฒน์ตอบในสิ่งที่เขาพึ่งได้ยิน สายตาพัฒน์ยังคงมองที่หมึกสีฟ้าบนกระเป๋าเสื้อฝั่งตรงข้าม

"หมอเสียใจด้วยนะครับ หมอแค่อยากรู้ว่าน้องเข้าใจสถานการณ์ได้มากเท่าไหน"

"ทำเคมีบำบัดควบด้วย อาจจะอยู่ได้สองถึงสามปี แย่สุดอยู่ได้แค่ปีครึ่ง"

พัฒน์ตอบ "เอ่อ… หมอตรงเสื้อหมอมีคราบปากกา" ชี้ปกเสื้อของตัวเอง แล้วค่อยลุกชี้ที่ปกเสื้อหมอ "จริงนะครับ หมอลองดู" หมอคนนั้นก้มดูเสื้อตัวเองและตกใจ เขาเอาผ้าเช็ดหน้าเช็ด ชนันเงยหน้าขึ้นมามองเห็นบนเก้าอี้ตรงข้ามควรจะเป็นผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง ตรงนั้นกับว่างเปล่า ประตูห้องเปิดอยู่

พัฒน์กำลังวิ่งอยู่ ไม่รู้ว่าร่างกายเขาจะพาไปที่ไหน เวลารอบตัวถูกยืดออกไปสำหรับเขา พัฒน์ได้แต่สังเกตภาพรอบตัวเป็นภาพที่เร็วและช้าพร้อมกัน เป็นแค่เขาที่เร็วแล้วคนอื่นช้าหรือตัวเองช้าแล้วคนอื่นเร็วกันแน่ ตอนรู้ว่าตัวเองจะตาย ต้องรู้สึกอะไรแบบนี้จริง ๆ เหรอพัฒน์คิดแบบนั้น พื้นหลังของตัวตนเป็นทางเดินในโรงพยาบาล กำลังเดินผ่านคนมากมาย ทางเดินที่แออัด ทุกคนมาที่นี่เพื่อที่ต้องการจะมีชีวิตอยู่ต่อ ตอนนี้ถูกปฏิเสธอยู่คนเดียว คนอื่นมีโลกของความเป็นไปได้ เขาอยู่ในโลกของความเป็นไปไม่ได้ คนรอบข้างถูกเบลอ ราวกับว่ามีแค่ลมหายใจหอบของเขาเป็นตัวละครหลัก

ตัวเขาถูกดึงเข้าหาคนคนหนึ่งโดยสัญชาตญาณ ลมหายใจหอบอยู่หน้าห้องหมายเลข 633 มือขวาของพัฒน์ในชุดผู้ป่วยสีเขียวอ่อน ค่อย ๆ เปิดประตูเลื่อนออก คนตรงหน้าทื่นอนบนเตียง ตาหลับสนิทอยู่

แม่ไม่รับรู้ถึงความทุกข์จำนวนมากในตัวพัฒน์บรรยากาศรอบตัวพัฒน์ มืดเงียบและไม่ได้รู้สึกถึงการมีอยู่ของคนรอบตัวเลย ตอนนี้สิ่งที่พัฒน์ต้องการที่สุดจากคนในห้องนี้ คือแค่ไม่กี่ประโยค อยากจะย้อนเวลากลับไปก่อนที่แม่จะไม่สื่อสารได้ ตอนที่ทั้งสองสามารถที่จะคุยกันได้ไม่เหมือนปัจจุบัน

"พัฒน์เป็นอะไรลูก แม่อยู่ตรงนี้นะ"

"เกิดอะไรขึ้น มากอดแม่นะ"

"เดี๋ยวทุกอย่างจะหายเลยลูก ไม่เป็นไรนะคนเก่ง"

แววตาของแม่กับการกางแขนและเขาเข้าไปกอด หลังจากประตูเปิดออก ตรงหน้าของพัฒน์เป็นความมืดของห้องไร้แสงให้ยึดเหนี่ยว มีแค่แสงสีฟ้าจากจอของเครื่องวัดชีพจร แม่ที่หลับตานอนอยู่เต็มไปด้วยท่อระโยงระยางไปมากับเสียงชีพจร ความจริงตรงหน้าลบกับความหวังผลลัพธ์เป็นการผลักพัฒน์จากด้านหลังเดินเข้าไปสู่ความจริงที่อยู่บนเตียงผู้ป่วย เขานั่งบนเก้าอี้และเลื่อนมานั่งข้างเตียงแม่

มีแค่แสงหน้าจอเท่านั้นที่สะท้อนสีเนื้อบนใบหน้าพัฒน์ เขาต้องใช้ความพยายามมากมายเพื่อจะกอบกู้ชิ้นส่วนที่แตกสลายตัวตนกับสถานการณ์นี้ ความจริงมันเศร้าเกินที่จะแบกรับไหวคนเดียว ความว่างเปล่าของชีวิต มีเพียงเสียงจากหน้าจอชีพจรเคล้าคลอเคลีย กลบเสียงสะอื้น น้ำตากำลังออกเดินทางจากความเศร้าบนแก้มของใบหน้าไปสู่ท้ายสุดของเนื้อหนังในการแสดงอารมย์ คางเป็นจุดสุดท้ายบนผิวหน้า

ทุกอย่างในหัว ความหวัง ความรู้สึก การถูกตัดขาดจากสายสัมพันธ์ผ่านอุบัติเหตุ ถูกแปลออกมาเป็นความสับสน ทุกข์ทน กับการโทษตัวเอง พัฒน์เหมือนถูกบังคับให้นั่งฟังเสียงหัวใจของแม่ เป็นเสียง "ปิ๊บ ๆ ปิ๊บ ๆ" การเดินทางของน้ำตาจำนวนมากย้ำเตือนทำให้ตัวเขารู้สึกอ่อนแอมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อย ๆ บรรยากาศความเงียบในโรงพยาบาลตอนกลางคืนกับห้องของผู้ป่วยเป็นลานโหมโรงดนตรีคลาสสิค ทำให้จังหวะของหยดน้ำตา กลายเป็นเพลงเต้นรำของความเศร้า

"แม่เคยรู้บ้างมั้ยว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับผมบ้าง แม่ตื่นมาได้มั้ย แม่ตื่นมาได้มั้ย!" พัฒน์ตะโกนใส่หน้าแม่ด้วยน้ำเสียงโมโหพร้อมทั้งน้ำตา

แม่ของพัฒน์น้ำตาไหล เหมือนโต้ตอบกับตัวเขาอยู่ ความเป็นปกติของผู้ป่วยนิทราที่จะน้ำตาไหล "แม่ช่วยพัฒน์หน่อย ไม่อยากอยู่คนเดียวแล้ว" มีตัวเขาคนเดียวกำลังพายเรือในน้ำตาแห่งความคาดหวัง เขาไม่รู้ว่าฝั่งออยู่ทางไหน สวดภาวนาก็ไม่พบทิศทาง น้ำกำลังเข้าเรือ และทำให้เขาจม จมไปพร้อมกับความคาดหวังที่จะช่วยเหลือตนเองและแม่

ห้องหมายเลขที่ 633 เปลี่ยนเป็นพื้นที่สารภาพความรู้สึกกับการยอมรับตัวตน

ค่ำคืนของน้ำตาแห่งความคาดหวังสู่ความผิดหวังบนใบหน้า เหือดแห้ง โดดเดี่ยว เขาอยากให้เวลาผ่านไปเร็วกว่านี้แต่ทุกอย่างกลับช้าราวกับโดนลงโทษ พัฒน์ฟุบหน้าลงกับเตียงแล้วหลับไปพร้อมความมืดบอดทางความรู้สึกทั้งภายในและภายนอก